ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผย ธุรกิจ Food Delivery ในปี 2566 มีแนวโน้มหดตัวลง ท่ามกลางโจทย์ท้าทายในการรักษายอดขาย ชี้อาหารจานด่วนยังคงได้รับความสนใจ ขณะที่เครื่องดื่ม-เบเกอร์รี่ ชะลอตัวลง
ธุรกิจ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าธุรกิจจัดส่งอาหารไปยังที่พัก หรือ Food Delivery จะเผชิญกับโจทย์ท้าทายหลังสถานการณ์โควิด เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมาขับเคลื่อนได้ตามปกติ และผู้บริโภคมีการปรับพฤติกรรมมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น ทำให้การเติบโตของตลาดธุรกิจจัดส่งอาหารไปยังที่พักส่งสัญญาณชะลอตัวลง โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 2566 ตลาดธุรกิจ Food Delivery น่าจะมีมูลค่าประมาณ 8.1 – 8.6 หมื่นล้านบาท โดยหดตัวร้อยละ 0.8 ถึงหดตัวร้อยละ 6.5 (จากฐานที่สูงในปี 2565)
ผ่านปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิ การใช้บริการ Food Delivery ยังมีอยู่แ ต่น่าจะอยู่ในระดับที่ชะลอลง ซึ่งจากผลสำรวจผู้บริโภคที่พบว่า ตั้งแต่ต้นปี 2565 จนถึงปัจจุบันกลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 37 ปรับลดความถี่ในการใช้บริการลงหลังจากที่สถานการณ์โควิดดีขึ้น โดยมีการใช้บริการแอปพลิเคชันจัดส่งอาหารไปยังที่พักเฉลี่ยประมาณ 5 ครั้งต่อเดือน ซึ่งลดลงจากผลการสำรวจในช่วงการระบาดของโควิดที่อยู่ที่ประมาณ 7 ครั้งต่อเดือน
อ่านข่าวเพิ่มเติม : ตลาดหลักทรัพย์ เปิดโอกาสทางธุรกิจปรับรับความท้าทายใหม่สู่ความยั่งยืน